วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การผ่อนคลายบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด

การผ่อนคลายบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด


1.       การผ่อนคลาย
เป็นการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อ โดยการเกร็งกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้เต็มที่ก่อนแล้วค่อยๆ คลายออก เพื่อนำไปใช้ในขณะมดลูกบีบรัดตัวกล้ามเนื้อส่วนอื่นต้องคลายเสมอ ถ้าในขณะเจ็บครรภ์ รู้สึกว่าเกร็ง หน้านิ่วคิ้วขมวด กัดริมฝีปาก หรือบิดตัว ต้องคลายออกเสมอ


2.       การควบคุมการหายใจ
มีความสำคัญมาก เพราะวิธีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และควบคุมตัวเองได้ ไม่ร้องโวยวาย ควรฝึกให้ชิน
          มีวิธีที่ควรฝึก 3 วิธีที่แนะนำนะครับ
2.1   แบบ ห๊อม หอม : เริ่มใช้ตั้งแต่เจ็บครรภ์จนถึงทนไม่ได้
วิธีปฏิบัติ เมื่อมดลูกหดรัดตัวหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ
2.2   แบบ หอบ หอบ : เริ่มใช้เมื่อรู้สึกเจ็บครรภ์รุนแรง
วิธีปฏิบัติ เมื่อมดลูกหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้ง ต่อมาหายใจแบบตื้นและเร็วคล้ายกับคนหายใจหอบ 4 ครั้งแล้วเป่าลมออกทางปากช้าๆ เมื่อมดลูกคลายตัวหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง
2.3   แบบ เบ้ง เบ่ง : ใช้เมื่อปากมดลูกเปิดหมดเจ้าหน้าที่จะบอกให้เบ่ง การหายใจแบบนี้จะใช้เมื่อจะคลอดเท่านั้น
วิธีปฏิบัติ เมื่อมดลูกหดรัดตัว หายใจล้างปอด 1 ครั้ง เมื่อหดรัดตัวมากขึ้นให้หายใจเข้าลึกๆ เท่าที่จะทำได้ นับ 1-10 กลั่นหายใจแล้วเบ่งให้แรงดันลงไปส่วนล่าง เบ่งซ้ำได้ 3-4 ครั้ง ในแต่ละครั้งของการเบ่งควรเบ่งครั้งละ 6 วินาที เมื่อมดลูกคลายตัวหายใจล้างปอดอีก 1 ครั้ง


3.       การลูบหน้าท้อง
วิธีปฏิบัติ     1. นั่งหรือนอนในท่าที่ผ่อนคลาย
              2. ทำมือทั้งสองข้างเป็นอุ้งมือวางที่หัวหน่าว
              3. ลูบหน้าท้องขึ้นพร้อมหายใจเข้าและเมื่อถึงยอดมดลูกลูบมือลงสัมพันธ์กับการหายใจออก


4.       การฝึกควบคุมจิตใจ
4.1   ยอมรับลูกในครรภ์และเชื่อมั่นว่าเราสามารถดูแลตนเองและลูกในครรภ์ได้
4.2   ฝากครรภ์สม่ำเสมอรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอารมณ์และจิตใจแจ่มใส
4.3   พักผ่อนให้เพียงพอทำกิจกรรมที่มีความสุขฟังเพลง ดูภาพสวยงาม
4.4   พูดคุยกับลูกในครรภ์ ควรเริ่มตั้งแต่อายุครรภ์ครบ 6 เดือน เพื่อกระตุ้นพัฒนาการ

4.5   สร้างความรัก ความผูกพันในครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ ลูก

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด



การคลอด เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อขับเอาทารก รก และน้ำคร่ำออกจากโพรงมดลูกในครรภ์มารดาสู่ภายนอก ซึ่งคำอื่นๆ ที่มีความหมายเดียวกัน คือ Labor Delivery, Parturition, Confinement, Travail, Childbirth เป็นต้น การคลอดอาจเกิดขึ้นในอายุครรภ์ต่างกัน จะประเมินจากอายุครรภ์ขณะครรภ์จะเป็นได้ดังนี้
-          การคลอดครบกำหนด (Full term labor) คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไป ถึง 42 สัปดาห์
-          การคลอดก่อนกำหนด (Pre term labor) คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ระหว่าง 28-37 สัปดาห์ น้ำหนักทารกแรกอยู่ระหว่าง 1,000-2.499 กรัม
-          การคลอดเกินกำหนด (Post term labor) คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน 42 สัปดาห์ขึ้นไป
ชนิดของการคลอด
การคลอด มีความหมายทั้งทางการคลอดทางช่องคลอด และการคลอดโดยการผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง ดังนั้น การคลอดจึงแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1.       การคลอดปกติ (Normal labour or Eutocia) คือ การคลอดได้เองทางช่องคลอด (Spontaneous labor) ต้องมีลักษณะดังนี้
1.1   อายุครรภ์ครบกำหนด (อายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์)
1.2   ส่วนนำเป็นศีรษะคว่ำหน้า คางชิดอก (Vertex presentation) เมื่อศีรษะจะคลอด กระดูก Occiput ต้องหมุนมาอยู่ใต้กระดูกหัวหน่าว (Occiput anterior ; OA)
1.3   ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ ระหว่างการคลอด (ล้วงรก ตกเลือด เป็นต้น)
1.4   ใช้เวลาในการคลอดทั้งระยะที่ 1-3 ของการคลอด รวมแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง
1.5   ไม่มีการช่วยคลอดด้วยเครื่องมือใดๆ
2.       การคลอดผิดปกติ (Abnormal labour or Dystocia) คือ กการคลอดที่ไม่ได้ประกอบด้วยลักษณะดังที่กล่าวในการคลอดปกติ
ระยะของการคลอด (Stage of labour)
          การคลอด เป็นกระบวนการี่มีความต่อเนื่อง ตั้งแต่การเริ่มเจ็บครรภ์ จนกระทั่งสิ้นสุดการคลอด สามารถ แบ่งระยะของการคลอดออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ (บางตำราแบ่งเป็น 3 ระยะ)
1.       ระยะที่ 1 ของการคลอด (First stage of labour) หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง (True labour pain) จนกระทั่งปากมดลูกเปิดหมด (Fully dilatation) ซึ่งในระยะนี้ปากมดลูกจะมีการบางตัวลง และเปิดขยายเพิ่มขึ้น หรือาจเรียกว่า Stage of cervical effacement and dilatation แบ่งออกได้อีก 2 ระยะ ตามการศึกษาของ ฟรายแมน (Fridmen)
1.1 ระยะที่การเปิดขยายของปากมดลูกดำเนินไปอย่างช้ามาก (Latent phase) นับตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงถึงปากมดลูกเปิด 2.5-3 เซนติเมตร ใช้เวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์แรก และ 5 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 20 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 14 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
1.2 ระยะที่มีการเปิดขยายของปากมดลูกจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว (Active phase) เพราะมดลูกมีความบางตัวแล้วจึงเปิดอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 2 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง เริ่มจากปากมดลูกเปิด 3 ถึง 10 เซนติเมตร แบ่งย่อยได้อีกเป็น
- ระยะที่ปากมดลูกเริ่มเปิดอย่างรวดเร็ว (Acceleration) เริ่มจากปากมดลูกเปิด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
- ระยะที่ปากมดลูกเปิดอย่างรวดเร็วมากที่สุด (Phase of maximum slope) เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 4-9 เซนติเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
- ระยะปากมดลูกเปิดช้าลง (Deceleration) เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 9-10 เซนติเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีในครรภ์แรก และ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
ลักษณะการหดรักตัวของมดลูกในระยะ active ตอนต้น จะหดตัวนาน 30-60 วินาที หดรัดตัวทุก 3-5 นาที ความรุนแรงระดับปานกลาง ส่วนในตอนท้ายมดลูกหดรักตัวนานประมาณ 40-90 วินาที ทุก 2-3 นาที ระดับความรุนแรงปานกลางถึงมาก
2.       ระยะที่ 2 ของการคลอด (Expulsive stage or Second stage of labour) หรืออาจเรียกว่า ระยะเบ่ง (หรือระยะการคลอดทารก) นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร จนกระทั่งสิ้นสุดการคลอด ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ไม่เกิน 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง (ระยะเวลาที่ครรภ์หลังใช้น้อยกว่าครรภ์แรก เพราะ เคยผ่านการคลอดมาแล้ว ช่องคลอดจึงกว้างกว่า และแรงต้านจากพื้นเชิงกรานน้อยกว่า)
ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูกในระยะนี้จะนาน ถี่และรุนแรง หดรัดตัวนาน 60-90 วินาที ทุก 2-3 นาที ความรุนแรงระดับมาก ผลจากการหดรัดตัวของมดลูกนานถี่และรุนแรงนี้จะทำให้ส่วนนำ(ในการคลอดปกติคือ ส่วนนำคือศีรษะหรือเรียกว่าท่าศีรษะ) เคลื่อนต่ำลงอย่างรวดเร็วและถุงน้ำคร่ำมักแตกในช่วงต้นของระยะนี้
แรงดันของส่วนนำกดลงบนเส้นประสารทซาครัล (Sacral nerve) และ อ็อบทูราเตอร์ (Obturator nerve) ทำให้หญิงมีครรภ์รู้สึกอยากเบ่ง(คล้ายกับอยากเบ่งอุจจาระ เพราะการกดเส้นประสาทเดียวกัน) ฝีเย็บบางโป่งตึง ถ้ามดลูกหดรัดตัวดีและหญิงมีครรภ์มีแรงเบ่งดี ศีรษะทารก(ส่วนนำ)จะเคลื่อนต่ำลงเรื่อยๆ จนมองเห็นส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะเรียก คราวนิง (crowing) ศีรษะทารกจะไม่หดกลับเข้าไปอีกแล้ว เมื่อมดลูกคลายตัว ช่วงนี้ถ้าไม่ตัดฝีเย็บอาจทำให้ฝีเย็บฉีกขาดได้
3.       ระยะที่ 3 ของการคลอด (Placental stage) หรือเรียกว่า ระยะคลอดรก นับจากภายหลังทารกคลอดออกมาแล้วจนกระทั่งรกและเยื้อหุ้มทารกคลอด ใช้เวลาประมาณ 5-30 นาที ทั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง แต่การใช้เวลายิ่งนานเท่าใดยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดได้มากเท่านั้น
4.       ระยะที่ 4 ของการคลอด (Recovery stage) นับตั้งแต่รกคลอดถึง 2 ชั่วโมงหลังคลอด เป็นช่วงที่ร่างกายจะฟื้นคืนเป็นปกติ แต่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเฉพาะตกเลือดหลังคลอด

ทั้งหมดนี้ คือความรู้พื้นฐานในการคลอด แต่ในการทำคลอดนั้นยังมีรายละเอียดอีกมากมาย (ซึ่งจะเล่าครั้งเดียวคงยาวเกินไป จึงขอจบไว้เพียงทำนี้ สำหรับความรู้พื้นฐาน ต่อไปจะมาเล่าต่อนะครับ ^^)

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์

          การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์


รูปที่ 1

1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
ไตรมาสแรก Ambivalence (มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย)
ไตรมาสที่ 2  Acceptace (เริ่มยอมรับการตั้งครรภ์)
ไตรมาสที่ 3  เริ่มกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด และทารกในครรภ์    
2.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาพลักษณ์ ( Body  image )
ภาพในจิตใจของบุคคลที่มีต่อร่างกายของตนเอง  ผลของภาพลักษณ์ที่ดีจะก่อให้เกิดความ  ภาคภูมิใจ  การยอมรับ ความมีคุณค่า
3. การเปลี่ยนแปลงด้านเพศสัมพันธ์ 
        การแสดงออกด้านเพศสัมพันธ์เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  อารมณ์ และการมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  พยาบาลต้องสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้หญิงตั้งครรภ์ยอมรับ บอกเล่าปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
4. การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
บทบาท ( Role ) กลุ่มพฤติกรรมที่แสดงออกตามความคาดหวังของสังคมตามสถานภาพของบุคคลนั้นๆ Maternal  role บทบาทการเป็นมารดาเป็นการเปลี่ยนแปลง บทบาทที่สำคัญของหญิงตั้งครรภ์ที่เพิ่มจากบทบาทภรรยาเป็นบทบาทของมารดา
พันธกิจของหญิงตั้งครรภ์(Tasks of Pregnancy)
ขั้นที่ 1 การสร้างความมั่นใจและการยอมรับการตั้งครรภ์ (Pregnancy  validity)
ขั้นที่ 2 การมีตัวตนของบุตรและรับรู้ว่าบุตรในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของตน (Fetal  embodiment)
ขั้นที่ 3 การยอมรับว่าทารกเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากตน (Fetal distinction)
ขั้นที่ 4 การเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา (Role transition)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
1. ประสบการณ์การเลี้ยงดู
2. วุฒิทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์
3. ลักษณะทางสังคมและครอบครัว
4. สภาพทางเศรษฐกิจ
5. ประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา
6. สถานภาพสมรส
7. การยอมรับสภาพความเป็นจริง
8. การเรียนรู้และการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
Attachment   สัมพันธภาพ  หรือ  การสัมผัส  เป็นรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่แสดงออกในทางบวก   ซึ่งผลของสัมพันธภาพนี้ทารกเป็นผู้เก็บประสบการณ์ที่ได้เพื่อจัดระบบพฤติกรรมและพัฒนาทางด้าน ร่างกาย  จิตใจ  และสังคมในอนาคต Bonding  ความรักใคร่ผูกพัน   เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมารดาได้สัมผัสบุตรทันทีหลังคลอด
          การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของสามีหญิงตั้งครรภ์

รูปที่ 2

          ไตรมาสแรก   ตื่นเต้น  สับสนกับความรู้สึกรับรู้การตั้งครรภ์ของภรรยา  ไม่แน่ใจว่าจะทำหน้าที่สามีและบิดาได้ดีหรือไม่
          ไตรมาสที่สอง  สามีภรรยาได้สัมผัสการดิ้นของทารกในครรภ์ร่วมกันทำให้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกลับมาดังเดิม  สามีภรรยาหลายคู่เมื่อได้ฟังเสียงหัวใจเด็กด้วยกัน เข้าอบรบหลักสูตรการปฏิบัติตัว และการเตรียมตัวเพื่อการคลอด ทำให้มีความรักและความเข้าใจกันมากขึ้น
          ไตรมาสที่สาม  เป็นช่วงที่ดีที่สุด  เริ่มมองเห็นบทบาทของตนเองที่มีต่อบุตรและภรรยามากขึ้น พร้อมที่จะรอรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว  เตรียมสถานที่และของใช้สำหรับทารก   สามีบางท่านอาจวิตกกังวลว่าบุตรของตน  ที่คลอดออกมานั้นจะเป็นอย่างไร เริ่มวิตกกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับภรรยาและ ทารกในระยะคลอด   รู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของตนที่พึงมีต่อภรรยาและบุตร
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของบุตรคนก่อนๆ

รูปที่ 3

บุตรส่วนใหญ่กลัวการเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพระหว่างตนเองกับบิดา  มารดา   การเตรียมบุตรคนก่อนควรเตรียมตามวัย   บิดามารดาต้องให้ความมั่นใจว่า  บุคคลสิ่งของ  หรือกิจกรรมในครอบครัวเป็นเช่นเดิม  เพียงแต่จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมา     เปิดโอกาสให้บุตรคนก่อนได้แสดงความเห็น หรือระบายความรู้สึก   ให้ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบิดา มารดาในการดูแลบุตรคนใหม่

“อารมณ์จะดีหรือไม่...ที่สำคัญคือเรื่องของการดูแลสภาพร่างกายและจิตใจ หากคิดดี ทำดี จิตใจดี อารมณ์ดีย่อมตามมาชนิดที่สมองแทบ ไม่ต้องสั่งการเลยก็ว่าได้”


ภาพประกอบ ;
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh8-kTAdFfZDVXs5T2xjiqT1k5KdI4v0C28GuTDjP2Km_j2tG9Cr9mIrPyhZrFdLE3310XZ_Lf-ll4RtnMEet1g_dPexl9CWbEnMhbnACnAGTcD3orso5WYrSqKE4D4Ydp5WH_H-M3-EeA/s1600/Pregnant%252520female.jpg  รูปที่ 1
http://zeedlady.newsrama2.com/product/detail-69488.html  รูปที่ 2
http://www.beautyupnews.com/wp-content/uploads/2013/09/เท้าบวม-วิธีดูแลระหว่างตั้งท้อง.jpg รูปที่ 3

สรุป.. กลไกการคลอด

กลไกลการคลอด 7 ขั้นตอน

1. Engagement คือการที่ส่วนที่กว้างที่สุดของส่วนนำทารก ซึ่งในกรณีคลอดปกติ ทารกอยู่ใน occiput presentation หมายถึงระยะทางระหว่าง parietal bone ทั้งสองข้าง (BPD; Biparietal diameter) ได้ผ่านเข้ามาในกระดูกเชิงกรานของมารดาส่วน pelvic inlet เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเหตุการณ์นี้อาจเกิดตั้งแต่ในช่วงตั้งแต่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ก่อนที่จะมีการเจ็บครรภ์คลอด หรืออาจเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะคลอดแล้วก็ได้ (ซึ่งในครรภ์หลัง ส่วนมากมักมี engagement เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดไปแล้ว) โดยปกติแล้วการเกิด engagement นั้นทารกมักจะปรับทิศทางของศีรษะให้แนว sagittal suture อยู่ในแนวขวาง (transverse)
2. Descent หมายถึงการเคลื่อนต่ำลงของส่วนนำทารก ซึ่งในกรณีสตรีครรภ์หลังที่ยังไม่มี engagement เกิดขึ้นจนกว่าจะเป็นช่วงที่เข้าสู่ระยะคลอด การเกิด descent มักมาพร้อมๆกันกับ engagement เช่นกัน แต่ในครรภ์แรกที่มี engagement เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ก่อนเข้าสู่ระยะคลอด การเกิด descent อาจยังไม่เกิดขึ้นเลยจนกว่าจะเข้าสู่การคลอดในระยะที่ 2 ก็เป็นได้ ส่วนเรื่องของกลไกการเกิด descent นั้นเชื่อว่าเป็นจากแรงที่มาจากใน 4 แหล่งได้แก่ แรงดันของน้ำคร่ำ, แรงดันจากบริเวณยอดมดลูกที่ทำต่อส่วนก้นของทารกโดยตรงในขณะที่เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก, แรงเบ่งจากกล้ามเนื้อหน้าท้องของมารดา และ การเหยียดและยืดตัวของทารกเอง(4)
3.Flexion คือการก้มคอของทารกเพื่อทำให้ผ่านมาในช่องทางคลอดได้ด้วยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของศีรษะที่เล็กที่สุด (SOB; Suboccipitobregmatic diameter)
4.Internal rotation ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าในช่วงแรกทารกจะเข้าสู่ pelvic inlet ด้วยลักษณะที่ sagittal suture อยู่ในแกนนอน (occiput transverse; OT) แต่จะสังเกตว่าเมื่อทารกคลอดออกมาสู่โลกภายนอกผ่าน pelvic outlet ลักษณะของศีรษะทารกจะมี sagittal suture อยู่ในแนวแกนตั้ง (occiput anterior; OA) ดังนั้นแสดงว่าจะต้องมีการหมุนของศีรษะทารกเกิดขึ้นในช่วงระยะทางระหว่าง pelvic inlet และ pelvic outlet ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเรียกว่าการเกิด internal rotation ซึ่งเราสามารถบอกได้ว่าในขณะนี้ศีรษะทารกเกิด complete internal rotation หรือไม่จากการตรวจภายในและบอก position พร้อมทั้งแนว sagittal suture ของศีรษะทารก
5. Extension คือการเงยขึ้นของศีรษะทารก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อทารกมี internal rotation ที่สมบูรณ์จนกระทั่งอยู่ในท่า OA และส่วนศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงมาจนอยู่ตรงบริเวณปากช่องคลอด (Vulvar) ของมารดา โดยการเกิด extension นี้เป็นผลจากแรงกระทำสองประการคือแรงที่มาจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งผลรวมของแรงจะเด่นทางด้าน posterior และอีกหนึ่งแรงที่มาประกอบกันเป็นแรงต้านที่มาจาก pelvic floor และ pubic symphysis ซึ่งเด่นไปในทางด้าน anterior ดังนั้นผลลัพธ์ของทั้งสองแรงนี้ จะทำให้แนวแรงโดยรวมออกมาในแกนประมาณ 45 องศาและทำให้ศีรษะทารกต้องมีการเงยขึ้นเล็กน้อยและออกมาที่บริเวณปากช่องคลอดได้ เมื่อส่วน subocciput มายันใต้ต่อ pubic symphysis และเมื่อศีรษะเกิด extension ร่วมด้วย ทำให้ทารกคลอดออกมาโดยส่วน occiput, bregma, หน้าผาก, จมูก และคางของเด็กคลอดออกมาตามลำดับ
6.Restitution & External rotation เมื่อศีรษะของทารกคลอดออกมาแล้ว ผู้ทำคลอดจะสังเกตได้ว่าจะมีการหมุนของศีรษะทารกเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยคล้ายๆเป็นการหมุนกลับไปสู่ท่าเดิมในแนวขวาง เช่น ถ้าก่อนศีรษะคลอดพบว่าทารกอยู่ในท่า LOA และเมื่อเกิด complete internal rotation ศีรษะทารกจะอยู่ในท่า OA และเกิด extension จากนั้นการเกิด external rotation จะทำให้ศีรษะทารกกลับไปอยู่ในท่า LOT ซึ่งการหมุนกลับของศีรษะทารกไปจน sagittal suture อยู่ในแนว transverse นี้ จะทำให้แนวของกระดูก acromian ของไหล่ (Biacromian diameter) มาอยู่ในแนวแกนตั้ง (AP; anteroposterior) และทำให้ส่วนไหล่ของทารกสามารถคลอดออกมาได้ต่อไป
7.Expulsion คือขั้นตอนหลังจากเกิด external rotation แล้วส่วนไหล่ของทารกจะคลอดออกมา ซึ่งโดยปกติการทำคลอดไหล่จะทำคลอดส่วนที่เป็นไหล่หน้า (ไหล่ด้านที่อยู่ใต้ต่อ pubic symphysis) ออกมาก่อน ตามด้วยไหล่ด้านหลัง จากนั้นส่วนตัวของทารกที่เหลือทั้งหมดจึงคลอดตามมา

 ภาพประกอบ : F.Gary Cunningham, Kenneth J.Leveno, Steven L.Bloom, John C.Hauth, Dwight J.Rouse, Catherine Y.Spong. normal labour and delivery. In: F.Gary Cunningham, Kenneth J.Leveno, Steven L.Bloom, John C.Hauth, Dwight J.Rouse, Catherine Y.Spong, editors. Williams Obstetrics. 23 ed.  Mc Graw Hill; 2010. p. 374-409.


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กระบวนการปฏิสนธิและพัฒนาการของทารกในครรภ์

กระบวนการปฏิสนธิและพัฒนาการของทารกในครรภ์


กระบวนการปฏิสนธิ
-          ไข่มีอายุ 24 ชั่วโมง หลังจากตกไข่ถ้าไม่มีการปฏิสนธิจะตาย
-          อสุจิมีอายุ 72 ชั่วโมงหลังจากการหลั่ง
-          ไข่รวมกับอสุจิเรียกว่า Zycote (ไซโกต หรือ ไซโกไซต์) ที่ Ampulla
-          หลังจากปฏิสนธิ 3-5 วัน Zycote จะมีการแบ่งตัว 2-4-8-16 cell เรียกว่า Murula และ เดินทางจากท่อนำไข่มาโพรงมดลูก
-          วันที่ 6 Morula จะมีน้ำเข้าไปใน Inner cell mass กลายเป็นตัวอ่อน
-          วันที่ 7-10 หลังปฏิสนธิ เริ่มมีการฝั่งตัว
การพัฒนาการของทารถในครรภ์
1.        ระยะไข่ คือ ระยะตั้งแต่เริ่มการผสมพันธุ์ จนกระทั่งปรากฏ primary villi ใช้เวลาประมาณ 14 วัน
2.        ระยะตัวอ่อน (Embryo) ระยะตั้งแต่หลังระยะไข่จนกระทั่ง 8 สัปดาห์ ระยะนี้เซลล์ที่รับการผสมจะแบ่งตัวแบบ mitosis อย่างรวดเร็ว ถ้าเซลล์ถูกขัดขวางการเจริญเติบโตในระยะนี้ทารกจะมีความพิการสูง
2.1  ระยะต้น จะพบหัวใจและประสาทสันหลังมีปุ่มแขนและขา ไม่มีตาและหู
2.2  ระยะท้าย ขนาดของทารกประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีเปลือกตา สามารถแยกแขนและขา เห็นภาพของสะดือและหางสำหรับหายใจ
3.        ระยะทารกในครรภ์ (Fetal) คือ ระยะหลังตัวอ่อน จนกระทั่งครบกำหนดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ ระยะนี้ทารกในครรภ์จะพัฒนาดังนี้
-          2 เดือน ภาพสะท้อนทางรังสีพบเงากระดูกคาง ท้ายทอย ไหปลาร้า ลำไส้ในสะดือ เงาหัว
-          3 เดือน ภาพสะท้อนทางรังสีเห็นกระดูกศีรษะ ต้นคอ ก้นกบ แขนขา-นิ้ว แยกเพศชัดเจน
-          4 เดือน เริ่มรู้สึกลูกดิ้น ทารกเริ่มมีขนอ่อน แยกเพศได้ เห็นภาพปอดและหัวใจ
-          5 เดือน เริ่มฟังเสียงหัวใจทารกได้ทางหน้าท้อง ปอดและอวัยวะภายในยังไม่สมบูรณ์ ตายังปิด พบศูนย์สร้างกระดูกที่กระดูกหน้าอก
-          6 เดือน ผิวหนังมีรอยเหี่ยวย่น มีไขมันเล็กน้อยบนผิวหนัง เปลือกตาเริ่มแยก นิ้วเริ่มโผล่ ภาพทางรังสีพบศูนย์สร้างกระดูกที่หัวเหน่า
-          7 เดือน เริ่มมีไขมันสะสมตามผิวหนัง อัณฑะที่ขาหนีบ ภาพทางรังสี พบศูนย์สร้างกระดูกที่ข้อเท้า การคลอดในเดือนนี้ถ้าได้รับการดูแลอย่างดี ทารกจะมีชีวิตรอด
-          8 เดือน รอยย่นที่ผิวหนังหายไป เริ่มเห็นเงาของนิ้วและเล็บ
-          9 เดือน ผิวหนังมีไขมันสะสมเพิ่มขึ้น และร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรค ภาพทางรังสีพบศูนย์สร้างกระดูกที่กระดูกต้นขา
-          10 เดือน จะพบศูนย์สร้างกระดูกที่ต้นขาส่วนล่าง มีไขและขนที่ไหล่และหลังผมดกและยาว ใบหูแข็ง เล็บยาว
การแบ่งระยะการตั้งครรภ์
1.      ไตรมาสแรก 1-3 เดือน (1-13 สัปดาห์)
2.      ไตรมาสที่สอง 3-6 เดือน (14-27 สัปดาห์)
3.      ไตรมาสที่สาม 6-9 เดือน (28-40 สัปดาห์)
การฝากครรภ์ (Ante Natal Care)
-          เพื่อระวังรักษาสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง
-          เพื่อวินิจฉัย ป้องกัน รักษาภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์
-          เพื่อตรวจหาอายุครรภ์ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
-          ลดอัตราอารกตายของมารดาและทารกในครรภ์

-          ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และวิธีการดูแลตนเองตลอดการตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด

ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะครับ ติดตามตอนต่อไปครับ



ข้อมูลจาก ;
ดร.ละเอียด  แจ่มจันทร์ และดร.สุรี  ขันธรักษวงศ์(บรรณาธิการ). สาระทบทวน การผดุงครรภ์ การพยาบาลมารดาและทารกป. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพ; บริษัท จุดทอง จำกัด.
รูปภาพจาก ; http://www.ruabruam.com/@lkaygx