ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด
การคลอด
เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพื่อขับเอาทารก รก
และน้ำคร่ำออกจากโพรงมดลูกในครรภ์มารดาสู่ภายนอก ซึ่งคำอื่นๆ
ที่มีความหมายเดียวกัน คือ Labor Delivery, Parturition,
Confinement, Travail, Childbirth เป็นต้น การคลอดอาจเกิดขึ้นในอายุครรภ์ต่างกัน
จะประเมินจากอายุครรภ์ขณะครรภ์จะเป็นได้ดังนี้
-
การคลอดครบกำหนด (Full
term labor) คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 37
สัปดาห์ขึ้นไป ถึง 42 สัปดาห์
-
การคลอดก่อนกำหนด (Pre
term labor) คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ระหว่าง
28-37 สัปดาห์ น้ำหนักทารกแรกอยู่ระหว่าง 1,000-2.499
กรัม
-
การคลอดเกินกำหนด (Post
term labor) คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน 42
สัปดาห์ขึ้นไป
ชนิดของการคลอด
การคลอด
มีความหมายทั้งทางการคลอดทางช่องคลอด และการคลอดโดยการผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้าท้อง
ดังนั้น การคลอดจึงแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. การคลอดปกติ
(Normal
labour or Eutocia) คือ การคลอดได้เองทางช่องคลอด (Spontaneous
labor) ต้องมีลักษณะดังนี้
1.1
อายุครรภ์ครบกำหนด
(อายุครรภ์ระหว่าง 37-42 สัปดาห์)
1.2
ส่วนนำเป็นศีรษะคว่ำหน้า
คางชิดอก (Vertex presentation)
เมื่อศีรษะจะคลอด กระดูก Occiput ต้องหมุนมาอยู่ใต้กระดูกหัวหน่าว
(Occiput anterior ; OA)
1.3
ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใดๆ
ระหว่างการคลอด (ล้วงรก ตกเลือด เป็นต้น)
1.4
ใช้เวลาในการคลอดทั้งระยะที่
1-3
ของการคลอด รวมแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง
1.5
ไม่มีการช่วยคลอดด้วยเครื่องมือใดๆ
2. การคลอดผิดปกติ
(Abnormal
labour or Dystocia) คือ
กการคลอดที่ไม่ได้ประกอบด้วยลักษณะดังที่กล่าวในการคลอดปกติ
ระยะของการคลอด
(Stage
of labour)
การคลอด
เป็นกระบวนการี่มีความต่อเนื่อง ตั้งแต่การเริ่มเจ็บครรภ์ จนกระทั่งสิ้นสุดการคลอด
สามารถ แบ่งระยะของการคลอดออกเป็น 4 ระยะ
ดังนี้ (บางตำราแบ่งเป็น 3 ระยะ)
1.
ระยะที่ 1
ของการคลอด (First stage of labour) หมายถึง
ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริง (True labour pain) จนกระทั่งปากมดลูกเปิดหมด (Fully dilatation)
ซึ่งในระยะนี้ปากมดลูกจะมีการบางตัวลง และเปิดขยายเพิ่มขึ้น หรือาจเรียกว่า Stage
of cervical effacement and dilatation แบ่งออกได้อีก 2 ระยะ ตามการศึกษาของ ฟรายแมน (Fridmen)
1.1 ระยะที่การเปิดขยายของปากมดลูกดำเนินไปอย่างช้ามาก (Latent phase)
นับตั้งแต่เจ็บครรภ์จริงถึงปากมดลูกเปิด 2.5-3 เซนติเมตร
ใช้เวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง 30 นาที
ในครรภ์แรก และ 5 ชั่วโมง 30 นาที
ในครรภ์หลัง ทั้งนี้ไม่ควรเกิน 20 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 14
ชั่วโมงในครรภ์หลัง
1.2 ระยะที่มีการเปิดขยายของปากมดลูกจะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว (Active
phase) เพราะมดลูกมีความบางตัวแล้วจึงเปิดอย่างรวดเร็ว
ใช้เวลาเฉลี่ย 5 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 2 ชั่วโมง 30 นาที ในครรภ์หลัง เริ่มจากปากมดลูกเปิด 3
ถึง 10 เซนติเมตร แบ่งย่อยได้อีกเป็น
- ระยะที่ปากมดลูกเริ่มเปิดอย่างรวดเร็ว (Acceleration)
เริ่มจากปากมดลูกเปิด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลา 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
- ระยะที่ปากมดลูกเปิดอย่างรวดเร็วมากที่สุด (Phase of maximum slope) เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 4-9 เซนติเมตร ใช้เวลา 2
ชั่วโมงในครรภ์แรก และ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
- ระยะปากมดลูกเปิดช้าลง
(Deceleration) เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 9-10 เซนติเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีในครรภ์แรก และ 1 ชั่วโมงในครรภ์หลัง
ลักษณะการหดรักตัวของมดลูกในระยะ active
ตอนต้น จะหดตัวนาน 30-60 วินาที หดรัดตัวทุก 3-5
นาที ความรุนแรงระดับปานกลาง ส่วนในตอนท้ายมดลูกหดรักตัวนานประมาณ 40-90
วินาที ทุก 2-3 นาที
ระดับความรุนแรงปานกลางถึงมาก
2.
ระยะที่ 2
ของการคลอด (Expulsive stage or Second stage of labour) หรืออาจเรียกว่า ระยะเบ่ง (หรือระยะการคลอดทารก)
นับตั้งแต่ปากมดลูกเปิด 10 เซนติเมตร จนกระทั่งสิ้นสุดการคลอด
ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 ชั่วโมงในครรภ์แรก
และ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ไม่เกิน 1
ชั่วโมงในครรภ์หลัง (ระยะเวลาที่ครรภ์หลังใช้น้อยกว่าครรภ์แรก เพราะ
เคยผ่านการคลอดมาแล้ว ช่องคลอดจึงกว้างกว่า และแรงต้านจากพื้นเชิงกรานน้อยกว่า)
ลักษณะการหดรัดตัวของมดลูกในระยะนี้จะนาน
ถี่และรุนแรง หดรัดตัวนาน 60-90 วินาที ทุก 2-3
นาที ความรุนแรงระดับมาก ผลจากการหดรัดตัวของมดลูกนานถี่และรุนแรงนี้จะทำให้ส่วนนำ(ในการคลอดปกติคือ
ส่วนนำคือศีรษะหรือเรียกว่าท่าศีรษะ) เคลื่อนต่ำลงอย่างรวดเร็วและถุงน้ำคร่ำมักแตกในช่วงต้นของระยะนี้
แรงดันของส่วนนำกดลงบนเส้นประสารทซาครัล
(Sacral
nerve) และ อ็อบทูราเตอร์ (Obturator nerve) ทำให้หญิงมีครรภ์รู้สึกอยากเบ่ง(คล้ายกับอยากเบ่งอุจจาระ
เพราะการกดเส้นประสาทเดียวกัน) ฝีเย็บบางโป่งตึง ถ้ามดลูกหดรัดตัวดีและหญิงมีครรภ์มีแรงเบ่งดี
ศีรษะทารก(ส่วนนำ)จะเคลื่อนต่ำลงเรื่อยๆ จนมองเห็นส่วนที่กว้างที่สุดของศีรษะเรียก
คราวนิง (crowing) ศีรษะทารกจะไม่หดกลับเข้าไปอีกแล้ว เมื่อมดลูกคลายตัว
ช่วงนี้ถ้าไม่ตัดฝีเย็บอาจทำให้ฝีเย็บฉีกขาดได้
3.
ระยะที่ 3
ของการคลอด (Placental stage) หรือเรียกว่า
ระยะคลอดรก นับจากภายหลังทารกคลอดออกมาแล้วจนกระทั่งรกและเยื้อหุ้มทารกคลอด
ใช้เวลาประมาณ 5-30 นาที ทั้งครรภ์แรกและครรภ์หลัง
แต่การใช้เวลายิ่งนานเท่าใดยิ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการตกเลือดได้มากเท่านั้น
4.
ระยะที่ 4
ของการคลอด (Recovery stage) นับตั้งแต่รกคลอดถึง
2
ชั่วโมงหลังคลอด เป็นช่วงที่ร่างกายจะฟื้นคืนเป็นปกติ
แต่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
โดยเฉพาะตกเลือดหลังคลอด
ทั้งหมดนี้
คือความรู้พื้นฐานในการคลอด แต่ในการทำคลอดนั้นยังมีรายละเอียดอีกมากมาย (ซึ่งจะเล่าครั้งเดียวคงยาวเกินไป
จึงขอจบไว้เพียงทำนี้ สำหรับความรู้พื้นฐาน ต่อไปจะมาเล่าต่อนะครับ ^^)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น