วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์

          การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตสังคมของหญิงตั้งครรภ์


รูปที่ 1

1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
ไตรมาสแรก Ambivalence (มีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย)
ไตรมาสที่ 2  Acceptace (เริ่มยอมรับการตั้งครรภ์)
ไตรมาสที่ 3  เริ่มกลัวและวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอด และทารกในครรภ์    
2.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาพลักษณ์ ( Body  image )
ภาพในจิตใจของบุคคลที่มีต่อร่างกายของตนเอง  ผลของภาพลักษณ์ที่ดีจะก่อให้เกิดความ  ภาคภูมิใจ  การยอมรับ ความมีคุณค่า
3. การเปลี่ยนแปลงด้านเพศสัมพันธ์ 
        การแสดงออกด้านเพศสัมพันธ์เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  อารมณ์ และการมี ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  พยาบาลต้องสร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้หญิงตั้งครรภ์ยอมรับ บอกเล่าปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
4. การปรับตัวเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา
บทบาท ( Role ) กลุ่มพฤติกรรมที่แสดงออกตามความคาดหวังของสังคมตามสถานภาพของบุคคลนั้นๆ Maternal  role บทบาทการเป็นมารดาเป็นการเปลี่ยนแปลง บทบาทที่สำคัญของหญิงตั้งครรภ์ที่เพิ่มจากบทบาทภรรยาเป็นบทบาทของมารดา
พันธกิจของหญิงตั้งครรภ์(Tasks of Pregnancy)
ขั้นที่ 1 การสร้างความมั่นใจและการยอมรับการตั้งครรภ์ (Pregnancy  validity)
ขั้นที่ 2 การมีตัวตนของบุตรและรับรู้ว่าบุตรในครรภ์เป็นส่วนหนึ่งของตน (Fetal  embodiment)
ขั้นที่ 3 การยอมรับว่าทารกเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบุคลิกภาพที่แตกต่างไปจากตน (Fetal distinction)
ขั้นที่ 4 การเปลี่ยนบทบาทการเป็นมารดา (Role transition)
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวต่อบทบาทการเป็นมารดา
1. ประสบการณ์การเลี้ยงดู
2. วุฒิทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์
3. ลักษณะทางสังคมและครอบครัว
4. สภาพทางเศรษฐกิจ
5. ประสบการณ์ในการตั้งครรภ์ที่ผ่านมา
6. สถานภาพสมรส
7. การยอมรับสภาพความเป็นจริง
8. การเรียนรู้และการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องขณะตั้งครรภ์
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกในครรภ์
Attachment   สัมพันธภาพ  หรือ  การสัมผัส  เป็นรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ของบุคคลที่แสดงออกในทางบวก   ซึ่งผลของสัมพันธภาพนี้ทารกเป็นผู้เก็บประสบการณ์ที่ได้เพื่อจัดระบบพฤติกรรมและพัฒนาทางด้าน ร่างกาย  จิตใจ  และสังคมในอนาคต Bonding  ความรักใคร่ผูกพัน   เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อมารดาได้สัมผัสบุตรทันทีหลังคลอด
          การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของสามีหญิงตั้งครรภ์

รูปที่ 2

          ไตรมาสแรก   ตื่นเต้น  สับสนกับความรู้สึกรับรู้การตั้งครรภ์ของภรรยา  ไม่แน่ใจว่าจะทำหน้าที่สามีและบิดาได้ดีหรือไม่
          ไตรมาสที่สอง  สามีภรรยาได้สัมผัสการดิ้นของทารกในครรภ์ร่วมกันทำให้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันกลับมาดังเดิม  สามีภรรยาหลายคู่เมื่อได้ฟังเสียงหัวใจเด็กด้วยกัน เข้าอบรบหลักสูตรการปฏิบัติตัว และการเตรียมตัวเพื่อการคลอด ทำให้มีความรักและความเข้าใจกันมากขึ้น
          ไตรมาสที่สาม  เป็นช่วงที่ดีที่สุด  เริ่มมองเห็นบทบาทของตนเองที่มีต่อบุตรและภรรยามากขึ้น พร้อมที่จะรอรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว  เตรียมสถานที่และของใช้สำหรับทารก   สามีบางท่านอาจวิตกกังวลว่าบุตรของตน  ที่คลอดออกมานั้นจะเป็นอย่างไร เริ่มวิตกกังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับภรรยาและ ทารกในระยะคลอด   รู้สึกว่าเป็นความรับผิดชอบของตนที่พึงมีต่อภรรยาและบุตร
การเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคมของบุตรคนก่อนๆ

รูปที่ 3

บุตรส่วนใหญ่กลัวการเปลี่ยนแปลงของสัมพันธภาพระหว่างตนเองกับบิดา  มารดา   การเตรียมบุตรคนก่อนควรเตรียมตามวัย   บิดามารดาต้องให้ความมั่นใจว่า  บุคคลสิ่งของ  หรือกิจกรรมในครอบครัวเป็นเช่นเดิม  เพียงแต่จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมา     เปิดโอกาสให้บุตรคนก่อนได้แสดงความเห็น หรือระบายความรู้สึก   ให้ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบิดา มารดาในการดูแลบุตรคนใหม่

“อารมณ์จะดีหรือไม่...ที่สำคัญคือเรื่องของการดูแลสภาพร่างกายและจิตใจ หากคิดดี ทำดี จิตใจดี อารมณ์ดีย่อมตามมาชนิดที่สมองแทบ ไม่ต้องสั่งการเลยก็ว่าได้”


ภาพประกอบ ;
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh8-kTAdFfZDVXs5T2xjiqT1k5KdI4v0C28GuTDjP2Km_j2tG9Cr9mIrPyhZrFdLE3310XZ_Lf-ll4RtnMEet1g_dPexl9CWbEnMhbnACnAGTcD3orso5WYrSqKE4D4Ydp5WH_H-M3-EeA/s1600/Pregnant%252520female.jpg  รูปที่ 1
http://zeedlady.newsrama2.com/product/detail-69488.html  รูปที่ 2
http://www.beautyupnews.com/wp-content/uploads/2013/09/เท้าบวม-วิธีดูแลระหว่างตั้งท้อง.jpg รูปที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น